เต็ดตรา แพ้ค คว้าคะแนน 'ระดับ A' ในด้านความโปร่งใส เกี่ยวกับป่าไม้เป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน

กรุงเทพฯ ประเทศไทย (16 กุมภาพันธ์ 2567)-เต็ดตรา แพ้ค ได้รับการยกย่องเป็นองค์กรชั้นนำด้านการดำเนินงานที่โปร่งใสและประสิทธิภาพด้านป่าไม้ใน “ระดับเอ” (A List) ติดต่อกันเป็นปีที่แปด โดย การประเมินและจัดอันดับของซีดีพี (CDP) หรือ Carbon Disclosure Project ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก

CDP A-List 2022

รายงานข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับป่าไม้ประจำปี 2566 ของซีดีพี ระบุว่า เต็ดตรา แพ้ค เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ได้รับคะแนนระดับ “A” ซึ่งมีเพียง 2% เท่านั้นจากบริษัทอื่น ๆ ที่เข้าร่วมการประเมินมากกว่า 21,000 แห่ง1 ในครั้งนี้ บริษัทยังทำรายงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำเป็นครั้งแรก ซึ่งหลังจากที่ได้รับการบันทึกคะแนนระดับ “A” ทั้งสองรายการ จึงส่งผลให้เต็ดตรา แพ้ค จัดอยู่ในกลุ่มแบรนด์ผู้นำของซีดีพี (CDP leadership band) อีกครั้ง โดยถือเป็นเพียงบริษัทเดียวในภาคธุรกิจบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มที่ติดอันดับในระดับนี้

องค์กร Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services หรือ IPBES ได้แจ้งเตือนว่าธรรมชาติกำลังเสื่อมโทรมในอัตราที่รวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยระบบอาหารทั่วโลกนับเป็นตัวการใหญ่ของการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ3 แม้ว่าระบบนี้จะต้องพึ่งพิงสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้ก็ตาม456 ทั้งนี้คงไม่ใช่เพียงแค่เรื่องความมั่นคงทางอาหารเท่านั้น เพราะคาดการณ์กันว่าผลผลิตมวลรวม (GDP) มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลกหรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 44 ล้านล้านดอลลาร์

ต้องพึ่งพาธรรมชาติและสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทั้งในระดับปานกลางหรือระดับสูง ด้วยความตระหนักถึงภาวะเร่งด่วนในการหยุดยั้งและฟื้นฟูการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการสร้างโลกที่มีความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำ ทำให้เต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านการสนับสนุนเป้าหมายของกรอบการทำงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จิล ทิสเซอแรน รองประธานด้านสภาพอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ของเต็ดตรา แพ้ค กล่าวว่า "เราต้องพึ่งพาธรรมชาติในการสร้างปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ตั้งแต่อากาศและน้ำที่สะอาดไปจนถึงผลิตภัณฑ์ เช่น อาหาร เราเชื่อว่าบริษัทต่างๆ เช่น เต็ดตรา แพ้ค จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนตามข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบจากห่วงโซ่คุณค่าของเรา ช่วยฟื้นฟูภูมิประเทศ และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในวงกว้าง”

“แนวทางการดำเนินงานด้านธรรมชาติของเรามีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับความมุ่งมั่นของเราในด้านสภาพภูมิอากาศ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ความยั่งยืนทางสังคม และระบบอาหาร การดำเนินการในเรื่องนี้จำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่ครอบคลุมทั่วทั้งวงจรธุรกิจ ซึ่งรวมถึงบุคลากรและกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่น การพัฒนาขีดความสามารถ การติดตามผล การรายงานผล และการเปิดเผยข้อมูล ในขณะที่เราวางเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำด้านความโปร่งใสขององค์กร เราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ 'A List' ของซีดีพีเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน และยังเป็นบริษัทเดียวในภาคธุรกิจบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่มที่ติดกลุ่มผู้นำของปีนี้ในทุกด้านของการเปิดเผยข้อมูลซีดีพี” เขากล่าวเสริม

คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “การได้รับการยอมรับในระดับ A List ของซีดีพีนั้นเป็นมากยิ่งกว่ารางวัล สิ่งนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นในฐานะผู้นำของเรา ผ่านการทำงานที่เป็นแบบอย่างด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานระดับโลกของเต็ดตรา แพ้ค เราจึงทุ่มเทดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในประเทศไทยอย่างแน่วแน่ โดยมุ่งส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ และปกป้องป่าไม้ เพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ยั่งยืนทั้งสำหรับชุมชนและโลกของเรา การได้รับการยกย่องครั้งนี้ได้ตอกย้ำถึงปณิธานของเราในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นทั้งในเมืองไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก”

เชอร์รี มาเดอรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซีดีพี กล่าวว่า “ขอแสดงความยินดีกับทุกบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับคะแนนระดับ A List ของซีดีพี รวมถึงบริษัทอื่น ๆ ที่กำลังเริ่มต้นหรือพยายามเร่งเดินหน้าสู่ความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อม ในปี 2566 เราได้เห็นถึงการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นกว่า 24% เมื่อปีที่ผ่านมา และเรายินดีอย่างมากที่เห็นแนวทางเช่นนี้ เพราะการวางรากฐานเพื่อการเปิดเผยข้อมูลเป็นเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นที่จะสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าบริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อปกป้องอนาคตอย่างแท้จริง”

“การจัดอันดับใน A List นั้น เป็นมากกว่าการให้คะแนน เพราะเป็นข้อบ่งชี้ถึงข้อมูลคุณภาพสูงและมีความครอบคลุม ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ ได้เห็นมุมมองในภาพรวมของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับเป็นพื้นฐานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และที่สำคัญยังช่วยให้บริษัทปฏิบัติตามความมุ่งมั่นที่ประกาศไว้ให้สำเร็จ เนื่องจากซีดีพีได้ยกระดับมาตรฐานความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสำเร็จของทุกบริษัทนั้นสมควรได้รับการยกย่อง หากนี่ไม่ใช่สิ่งที่ทำสำเร็จแล้วเลิกรากันไป เพราะเราต้องการเห็นถึงความพยายามขององค์กรที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเรื่องภูมิอากาศและการปฏิบัติงานเชิงบวกเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยได้รับความสำคัญมากเท่านี้มาก่อนเลย”

การให้คะแนนบริษัทต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์อย่างไร?

ซีดีพี (CDP) ใช้วิธีการที่มีความละเอียดซับซ้อนและดำเนินงานแบบอิสระในการประเมินบริษัทต่าง ๆ เพื่อจัดลำดับคะแนน A ถึง D โดยพิจารณาจากความครอบคลุมของการเปิดเผยข้อมูล การตระหนักรู้และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และการสาธิตแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดแผนงานและการตั้งเป้าหมายที่มีคุณค่า ส่วนผู้ที่ยังไม่เปิดเผยหรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอจะถูกทำเครื่องหมาย F

การให้คะแนนของซีดีพีด้านป่าไม้ ดำเนินการกับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 4 ประเภท ได้แก่ ไม้ ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องได้คะแนน A อย่างน้อยหนึ่งรายการจากสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อป่าไม้ จึงจะได้รับการจัดอันดับคะแนนในด้านป่าไม้ใน “ระดับ A”   

สามารถดูรายชื่อบริษัททั้งหมดที่ได้รับการจัดอันดับในระดับ A List โดยซีพีดีของปีนี้ได้ที่: https://www.cdp.net/en/companies/companies-scores


วิธีการและเกณฑ์ทั้งหมดสำหรับการจัดระดับ A List อยู่ในเว็บไซต์ CDP ที่ : https://www.cdp.net/en/companies/companies-scores
IPBES. (2019). Global Assessment Report of the Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity. p. 1109 In E. S. Brondízio, J. Settele, S. Díaz, & H. T. Ngo (Eds.), IPBES secretariat. IPBES secretariat, Bonn, Germany. Source: https://doi.org/10.5281/zenodo.3831673
3 Benton, T.G., et al. (2021). Food system impacts on biodiversity loss: Three levers for food system transformation in support of nature. Chatham House. Source: https://www.chathamhouse.org/sites/default/files/2021-02/2021-02-03-food-system-biodiversity-loss-benton-et-al_0.pdf
4 FAO. 2019. The State of the World’s Biodiversity for Food and Agriculture, J. Bélanger & D. Pilling (eds.). FAO Commission on Genetic Resources for Food and Agriculture Assessments. Rome. 572 pp.
5IPBES. (2019). Global Assessment Report of the Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity. In E. S. Brondízio, J. Settele, S. Díaz, & H. T. Ngo (Eds.), IPBES secretariat. IPBES secretariat, Bonn, Germany.
6Johnson, J.A. et al. (2021). The Economic Case for Nature : A Global Earth-Economy Model to Assess Development Policy Pathways. World Bank, Washington, DC.

หากสื่อมวลชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ฐาปนี จันทร์หอม
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์: +662-018-3000
Tapanee.junhom@tetrapak.com

ณัฐพรรณ มิว
โทรศัพท์: +6695-665-5156
natthaphan@midas-pr.com

Images for download

CDP A list stamp 2023

CDP A list stamp 2023