2023-01-12
BANGKOK, THAILAND

เต็ดตรา แพ้ค คว้าคะแนน “ระดับ A” จากองค์กรซีดีพี 4 ปีซ้อน ในการดำเนินงาน ที่เป็นเลิศด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและการปกป้องผืนป่า

CDP A-List 2022

กรุงเทพฯ (12 มกราคม 2566) - เต็ดตรา แพ้ค ผู้นำด้านโซลูชันการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก ได้รับการยกย่องในฐานะผู้นำด้านการดำเนินงานที่โปร่งใส และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป่าไม้โดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ซีดีพี (CDP) ซึ่งบริษัทยังคงสามารถรักษาคะแนนใน “ระดับเอ” (A-List) ในด้านการดำเนินงานเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปกป้องผืนป่าไว้ได้เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน โดยเต็ดตรา แพ้ค เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ได้รับคะแนนระดับ “ดับเบิลเอ” จากจำนวนบริษัทอื่น ๆ ที่เข้าร่วมอีกเกือบ 15,000 แห่ง โดยการให้คะแนนตามข้อมูลที่ส่งผ่านแบบสอบถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป่าไม้ของซีดีพีในปี 2565

กระบวนการเปิดเผยและให้คะแนนด้านสิ่งแวดล้อมประจำปีของซีดีพีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานระดับสูงในเรื่องความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กร ในปี 2565 นักลงทุนกว่า 680 รายที่มีทรัพย์สินรวมกันมากกว่า 130 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ และผู้ซื้อรายใหญ่ 280 รายที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างรวมมูลค่ากว่า 6.4 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ได้ขอให้บริษัทต่าง ๆ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยง และโอกาสในการดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์มของซีดีพี โดยได้รับการตอบรับจากบริษัทมากกว่า 18,700 แห่ง ซึ่งถือเป็นการทำลายสถิติครั้งใหม่ที่มีผู้ตอบกลับมามากที่สุด

ซีดีพีได้ใช้กระบวนการที่เป็นอิสระและการเจาะลึกถึงรายละเอียดในการประเมินบริษัทต่าง ๆ เพื่อการจัดลำดับคะแนนจากระดับ “เอ” ถึง “ดี” โดยพิจารณาจากความครอบคลุมของการเปิดเผยข้อมูล การสร้างการรับรู้ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และการแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยมที่สื่อถึงความเป็นผู้นำในเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและก่อให้เกิดผลลัพธ์ ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่เปิดเผยข้อมูลหรือให้ข้อมูลไม่เพียงพอจะได้รับคะแนนในระดับ “เอฟ”

การให้คะแนนของซีดีพีในเรื่องป่าไม้พิจารณาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ 4 ประเภทที่เป็นสาเหตุให้เกิดการตัดไม้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม โดยบริษัทต่าง ๆ จะต้องได้คะแนนระดับเออย่างน้อยหนึ่งประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อผลผลิตจากป่าไม้ดังกล่าว เพื่อให้รายชื่อบริษัทอยู่ในระดับเอในการดำเนินงานด้านป่าไม้ (Forests A-List)

มร. เด็กซเตอร์ เกลวิน ผู้อำนวยการบริหารบรรษัทและซัพพลายเชนทั่วโลกของซีดีพี กล่าวว่า: ขอแสดงความยินดีกับบริษัทต่าง ๆ ที่ได้การจัดลำดับคะแนนระดับ A List ของซีดีพีในปีนี้ ความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อมเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และส่งผลดีต่อธรรมชาติในอนาคต ท่ามกลางความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลกในปีนี้ ตั้งแต่ปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายไปจนถึงการสูญเสียธรรมชาติอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนและร่วมมือกันจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกและยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2573 ควบคู่ไปกับการบรรลุความมั่นคงด้านน้ำในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเราจะไม่มีทางที่จะไปถึงเป้าในการการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้เลย หากปราศจากธรรมชาติ ในขณะที่ซีดีพียังคงยกระดับคุณสมบัติของความเป็นผู้นำด้านสภาพอากาศ ป่าไม้ และน้ำ เราหวังว่าจะเห็นความพยายามและการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมของบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในระดับ A List และบริษัทที่ต้องการจะมาอยู่ในตำแหน่งนี้ จะต้องลงมือทำเช่นเดียวกัน”

มร. จิล ทิสเซอแรน รองประธานด้านสภาพอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ของเต็ดตรา แพ้ค กล่าวว่า "ด้วยระบบของอุตสาหกรรมอาหารที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในสามของโลก บริษัทระดับโลกอย่างเราต้องร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเร่งดำเนินการ นั่นทำให้เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จัดอยู่ในระดับ 'A List' ของซีดีพีต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน เพราะแสดงให้เห็นว่าเรากำลังดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้องในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและลดความเสี่ยงจากการตัดไม้ทำลายป่า"

“ในโลกปัจจุบัน การแยกผลกระทบจากสภาพอากาศและการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังมีความท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ความโปร่งใสขององค์กรถูกจับตามองว่าเป็น 'การสร้างหรือทำลายสิ่งแวดล้อม' เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ – และเป็นไปโดยชอบธรรม เราตระหนักดีถึงการเดินทางอันยาวไกลข้างหน้า แต่การพิสูจน์ให้เห็นว่าธุรกิจของเราในอนาคตสอดคล้องกับการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เป็นสิ่งจำเป็น และเรามุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะทำหน้าที่ของเรา”

คะแนนระดับ “ดับเบิลเอ” เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างยาวนานของเต็ดตรา แพ้ค ในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ในปี 2564 บริษัทมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่าลง 36%1 โดย 80% ของไฟฟ้ามาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ในขณะที่เรายังได้ดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์วัตถุดิบ 44 ราย ในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ร่วมมือกับเรา ในการปกป้องโลก” (Join Us in Protecting the Planet) โดยส่วนหนึ่งของ ‘20 แผนปฎิบัติการในปี 2573' ตามรายละเอียดของแผนการดำเนินงาน สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงลง 50% ภายในปี 25732 และเพื่อชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่าความร่วมมือมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างไร ในต้นปี 2565 เต็ดตรา แพ้ค ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มการฟื้นฟูที่ดินเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมที่ประเทศบราซิล โดยร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น Apremavi โดยมีเป้าหมายคือการฟื้นฟูผืนป่าแอตแลนติกให้ได้มากถึง 7,000 เฮกตาร์ภายในปี 2573 เพื่อการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การกำจัดคาร์บอน และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

tetra pak drone shot

นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม 2565 เป้าหมายของเต็ดตรา แพ้ค ในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2593 ได้รับการอนุมัติจาก SBTi3 (The Science-Based Target initiative) ภายใต้มาตรฐาน Corporate Net-Zero Standard4 ในขอบเขต 1, 2 และ 3 ทั้งหมดหมายถึง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 46% ทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2573 และลดลง 90% ในกลุ่มขอบเขตเดียวกันทั้งหมดภายในปี 2593 เมื่อมองไปข้างหน้า เต็ดตรา แพ้คได้กำหนดความมุ่งมั่นที่ท้าทายเพิ่มเติม เช่น การลดขยะอาหาร ลดการใช้น้ำ และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสายการผลิตตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดภายในปี 25735

นายปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวปิดท้ายว่า “ในประเทศไทย เต็ดตรา แพ้ค ปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำของโลก โดยตระหนักถึงความสำคัญของความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อมเป็นขั้นตอนสำคัญในการบรรลุสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำหรับประเทศของเราในอนาคต เราจะเดินหน้าสร้างความร่วมมือและผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก้าวนำด้วยการนำเสนอโซลูชันแบบคาร์บอนต่ำ และเพิ่มความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การจัดหา การผลิต จนถึงการสิ้นสุดอายุของผลิตภัณฑ์”

รายชื่อบริษัททั้งหมดที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ A List โดยซีพีดี พร้อมคะแนนของบริษัทอื่น ๆ สามารถดูได้ที่ https://www.cdp.net/en/companies/companies-scores


ในปี 2564 เต็ดตรา แพ้ค ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการปฏิบัติงาน (ขอบเขตที่ 1, 2 และการเดินทางเพื่อธุรกิจ) ลง 36% เมื่อเทียบกับข้อมูลพื้นฐานในปี 2562 การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขต1 และ 2 รวมกันลดลง 27% เมื่อเทียบกับค่าพื้นฐานปี 2562
ปีพื้นฐาน: 2562
3 แนวทางของเต็ดตรา แพ้ค สู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในการดำเนินงานภายในปี 2573 และทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2593 ต่อยอดจากการผสมผสานระหว่างการลดและบรรเทาการปล่อยมลพิษในการดำเนินงาน รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้ค ของลูกค้า การปล่อยมลพิษของซัพพลายเออร์ด้านวัสดุ และการชดเชยการปล่อยสารตกค้างเบื้องต้นผ่านโครงการฟื้นฟูที่ดินของบริษัท
4 Corporate Net-Zero Standard ของ SBTi เป็นกรอบแผนงานแรกของโลกสำหรับการกำหนดเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กรให้สอดคล้องกับภูมิอากาศศาสตร์ ซึ่งรวมถึงคำแนะนำ หลักเกณฑ์ และคำแนะนำที่บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับการจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นที่ 1.5° องศาเซลเซียส หลังจากมีการเปิดตัวเมื่อปลายปีที่แล้วในการต่อยอดสู่ COP26 ในเมืองกลาสโกว์ มาตรฐานกำหนดให้บริษัทต่าง ๆ มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 90% ในทุกขอบเขตในแผนสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อป้องกันการพึ่งพามากเกินไปในการชดเชย นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้เข้าร่วมต้องกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างกลางจนถึงต้นปี 2573 ตามเส้นทางการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5° องศาเซลเซียส เป้าหมายเหล่านี้ต้องครอบคลุมการปล่อยมลพิษทางอ้อม (ขอบเขตที่ 3) เช่นเดียวกับที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ
5 ปีพื้นฐาน: 2562